วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ความสำคัญของคอมพิวเตอร์


   👾 คอมพิวเตอร์ (Computer)👾 เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่าน และบันทึกข้อมูล ตลอดจนรับคำสั่ง เพื่อแก้ไขปัญหา หรือทำการคำรวณที่สลับซับซ้อน แสดงผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ มีไว้สำหรับผ่อนแรงกายและสมองของมนุษย์ 
(1) คอมพิวเตอร์กับงานด้านการศึกษา
    ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่าง ๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น
การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติอาจารย์
(2) คอมพิวเตอร์กับงานด้านวิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารเคมี เครื่องมือการทดลองต่างๆ 
(3) คอมพิมเตอร์กับงานด้านการออกแบบทางวิศวกรรม คอมพิวเตอร์สามารถทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบจนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่างๆ ตลอดจนช่วยคำนวณโครงสร้าง ช่วยในการวางแผนและควบคุมการสร้าง
(4) คอมพิวเตอร์กับงานด้านธุรกิจทั่วไป คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็วและถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนงานทางด้านเอกสาร งานพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น 
(5) คอมพิวเตอร์กับงานด้านธนาคาร ในแวดวงธนาคารนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด เพราะธนาคารจะมีการนำข้อมูล ( Transaction ) เป็นประจำทุกวัน การหาอัตราดอกเบี้ยต่างๆ นอกจากนี้ การใช้บริการ ATM ซึ่งลูกค้าสามารถฝาก-ถอน เงินได้จากเครื่องอัตโนมัติ
(6) คอมพิวเตอร์กับงานด้านร้านค้าปลีก ปัจจุบันเห็นได้ว่า ได้มีธุรกิจร้านค้าปลีกหรือที่เรียกว่า "เฟรนไชส์" เป็นจำนวนมาก ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการให้บริการลูกค้า เช่น ให่้บริการชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ 
(7) คอมพิวเตอร์กับงานด้านการแพทย์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ ควบคุมการรับและการจ่ายยา ตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด 
(8) คอมพิวเตอร์กับงานด้านคมนาคมและการสื่อสาร ในยุคปัจจุบันถือว่าเป็นยุคที่เป็นการสื่อสารแบบไร้พรมแดนจะเห็นได้จากการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ในเครือข่ายสาธารณะที่เรียกเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถที่จะสื่อสารกับทุกคนได้ทั่วทุกมุมโลก โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ 
(9) คอมพิวเตอร์กับงานด้านอุตสาหกรรม ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต จนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า กำหนดเวลาการผลิต ในรายงานอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร 
เช่น การเจาะ ตัด ไส 
(10) คอมพิวเตอร์กับหน่วยงานราชการ คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฎรช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้งและการประกาศผลเลือกตั้ง การคิดภาษีอากร การเก็บข้อมูล 

Gateway

  👹Gateway👹



       Gateway  เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้

เกตเวย์เป็นเหมือนนักแปลภาษาที่ทำให้เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกันได้ หากโปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลของเครือข่ายทั้งสองไม่เหมือนกันเกตเวย์ ก็จะทำหน้าที่แปลงโปรโตคอลให้ตรงกับปลายทางและเหมาะสมกับอุปกรณ์

สวิตซ์ (Switch)

👯สวิตซ์ (Switch)👯


 สวิตซ์ (Switch) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาการต่อจากฮับอีกทีหนึ่งมีความสามารถมากกว่า Hub โดยการทำงานของสวิตซ์จะส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีปลายทางเท่านั้น ไม่ส่งกระจายข้อมูลไปยังทุกพอร์ตเหมือนอย่างฮับ ทำให้ในสวิตซ์ไม่มีปัญหาการชนของข้อมูล สวิตซ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link Layer คือจะรับผิดชอบในการเชื่อมโยงของข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของการติดต่อจากโหนดหนึ่งไปอีกโหนดหนึ่งและความสมบูรณ์ของการรับส่งข้อมูล สำหรับในชั้นเชื่อมโยงข้อมูลนั่นจะทำการแบ่งข้อมูลระดับบิตที่ได้รับจากชั้น Physical Layer เป็นข้อมูลชนิดที่เรียกว่า เฟรม ก่อนจะส่งไปยังชั้นถัดไป ก็คือ Network Layer

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ


💙สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ 💚
1) รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์ฟ มีตั้งแต่ 8 , 16 , 32 , 64 , 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive 

2) ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของซิปดิสก์จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์ 

3) Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆ กับ ฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกข้อมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์ 

4) เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์ 

5) การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ

อุปกรณ์ประมวลผลหลัก

😬อุปกรณ์ประมวลผลหลักๆ มีดังนี้😠
  • ซีพียู (CPU-Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า

    โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (Chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง 
  • หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    รอม (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป

    แรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที 
  • เมนบอร์ด (Main board) เป็นแผงวงจรต่อเชื่อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของ พีซีทุกเครื่อง เพราะจะบอกความสามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ได้หรือไม่ 
  • ซิปเซ็ต (Chip Set) ซิปเซ็ตเป็นชิปจำนวนหนึ่งหรือหลายตัวที่บรรจุวงจรสำคัญๆ ที่ช่วยการทำงานของซีพียู และติดตั้งตายตัวบนเมนบอร์ดถอดเปลี่ยนไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงานและควบคุมการทำงานของหน่วยความจำรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างทั้งแบบภายในหรือภายนอกทุกชนิดตามคำสั่งของซีพียู เช่น SiS, Intel, VIA, AMD เป็นต้น

ข้อมูลและกระบวนการทำงานคอมพิวเตอร์


👷ข้อมูล👷
      ข้อมูลในที่นี้จะมีความหมายรวมถึงข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล และสารสนเทศที่เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เมื่อนำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลหรือสัญญาณดิจิทัล โดยมีชนิดของข้อมูล รูปแบบของแฟ้มข้อมูล และประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนี้
      
ชนิดของข้อมูล ข้อมูลจะถูกเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ ได้แก่ บิต ตัวอักษร เขตข้อมูลหรือฟิลด์ ระเบียนข้อมูล แฟ้มข้อมูล และฐานข้อมูล ข้อมูลแต่ละบิตจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเองซึ่งสามารถแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะได้ดังนี้
                        1. เลขจำนวนเต็ม (Integer) 
                        2. ค่าตรรกะ 
(Boolean or Logical) 
                        3. ตัวอักษร 
(Character) 
                        4. สายอักขระ 
(String) 
                        5. เลขจำนวนจริง 
(Floating-Point Number) 
                        6. วันและเวลา 
(Date/Time) 
                        7. ไบนารี 
(Binary) 
กระบวนการ 😇
                  คือ ขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของผู้ใช้กระบวนการทำงานที่ดีจะต้องเกิดจากผู้ใช้มีความรู้ ความสามารถในการใช้งาน ข้อมูลมีความถูกต้องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ 

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์


ผู้ใช้            ผู้ใช้ คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้งาน โต้ตอบ ควบคุม และดูแลคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ที่ดีควรมีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ผู้ใช้สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ 5 ประเภท คือ ผู้ใช้งานตามบ้าน ผู้ใช้งานตามสานักงานขนาดเล็กผู้ใช้งานที่ต้องการความคล่องตัว ผู้ใช้งานตามสำนักงานใหญ่ และผู้ใช้งานสมรรถนะสูง

การทำงานของคอมพิวเตอร์

การทำงานของคอมพิวเตอร์




อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อช่วยให้o การทำงานเอกสารที่ซ้ำๆ ได้อย่างรวดเร็ว 
o การคำนวณตัวเลข ถูกต้อง แม่นยำ
o สามารถเก็บข้อมูล ปรับปรุงแก้ไข ได้โดยง่าย 
o การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นฐานข้อมูล  แล้วสืบค้นได้
o การติดต่อสื่อสาร เพื่อสืบค้นข้อมูล เพื่อบันเทิง

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


💗ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์💗




อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์หลักๆ
รู้กันมั้ยว่าส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง คอมพิวเตอร์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน เริ่มจาก
1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์  จอภาพ
4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)



เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ

ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)





               เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ 
          ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น

CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW




        เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk
        การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

    


     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน 
     IDE (Integrated Drive Electronics)
     เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด

SCSI (Small Computer System Interface)
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง

Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน

RAM

      
💀RAM 💀





  RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที 
โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM

CPU



👊CPU👊

ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
     1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้ 
     2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon 

จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display)

จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display)👀



           จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ  จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที 

    การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน

จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)







                          จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)  โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ   ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ 
   การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron

    ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย

เคส

    

💞เคส💞



     เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การ์ดแสดงผล (Display Card)


👻การ์ดแสดงผล (Display Card)👻
             




             การ์ดจอ (Graphic Card) หรือการ์ดแสดงผล เป็นเหมือนสีสันของคอมพิวเตอร์เลย
การ์ดจอ (Graphic Card) คือ แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor) ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก และอีกระบบหนึ่งคือ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด👿👿


โปรแกรมในปัจจุบันมีความต้องการการคำนวณทางด้านกราฟิคที่สูงมาก อย่างที่รู้ๆ กันคือ เกมส์ ที่เรากันอยู่ในปัจจุบันครับ บรรดาผู้ผลิตต่างก็พัฒนาเกมของตนให้มีภาพกราฟิคที่ละเอียดสมจริง การ์ดจอจึงต้องพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งกราฟฟิคที่สวยงาม ตระกาลตา ปัจจุบันนี้ก็ HD(Hi definition)กันเกือบหมดแล้ว👹👹

Windows 8


💘Windows 8💘
  
        Windows 8 คือ ระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจาก Windows 7 ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีคุณสมบัติที่เน้นการทำงานกับอุปกรณ์ที่หลายหลายขึ้น ซึ่งสามารถใช้กับโน๊ตบุ๊ค (Notebook) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC) แท็บเล็ต (Tablet) โทรศัพท์มือถือ (Smart Phone) และสามารถใช้งานในรูปแบบของจอสัมผัส (Touch Screen) ได้ด้วย
ระบบปฏิบัติการ Windows 8
สามารถรองรับกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเก่า หรือ โน๊ตบุ๊คเครื่องเก่าได้ ซึ่งไม่มีปัญในการใช้งาน เพราะระบบปฏิบัติการ Windows 8 รองรับได้ตั้งแต่ CPU  RAM GHz ในแท็บเล็ต (Tablet) ทำให้ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่ใช้ทรัพยากรเครื่องน้อยมาก  (น้อยกว่าระบบ Windows 7) และง่ายต่อการพัฒนา Application ซึ่งพัฒนา Application ในครั้งเดียว  ยังสามารถใช้ได้กับทุกอุปกรณ์ได้
Windows 8
ได้มีการปรับปรุงระบบเปิดและปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งในระบบปฏิบัติการนี้ได้ใช้เวลาในการบู๊ตเครื่องน้อยกว่าระบบ Windows 7 กว่า 2 เท่า และในการ Shut Down เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้เวลาไม่เกิน 3 วินาที ซึ่งถือว่าเป็นระบบ Windows ที่การเปิด – ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เร็วกว่าทุกรุ่นตั้งแต่มีมา
สิ่งดี ๆ ที่คุณจะพบใน Windows 8
1. บู๊ตเครื่องได้เร็วมาก
ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานวินโดวส์ได้รวดเร็วในเวลาเพียงไม่กี่วินาที  เมื่อเทียบกับระบบวินโดวส์เวอร์ชั่นอื่นๆ  ซึ่งถือว่าเร็วกว่าทุกรุ่นที่มีมา
2. อินเตอร์เฟสใหม่ที่แปลกตา
ในส่วน Start Menu มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการออกแบบให้ Application หรือ โปรแกรมที่ใช้งานมารวมอยู่ในหน้าเดียวกัน  ซึ่งออกแบบในแบบ Modern Style สะดวกในการใช้งาน Application ดังกล่าวเช่น Mail, People, Calendar, Messaging, Weather เป็นต้น
3. ระบบค้นหายอดเยี่ยม
ระบบปฏิบัติการ Windows 8 มีคุณสมบัติในการค้นหาสิ่งต่าง ๆ ได้โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่คือ Application, Settings, File และในโซเชียลเน็ตเวิร์กได้อย่างรวดเร็ว โดยค้นหาผ่านหน้าโหมด Start Screen  เข้าไปในส่วน Search จากนั้นพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาลงไป ซึ่งไม่จำเป็นที่ผู้ใช้ต้องพิมพ์ทั้งคำ เพราะระบบ Windows 8 จะแสดงทุกอย่างที่ตรงกับคำที่ค้นหาขึ้นมาทันที
4.หน้าต่างก๊อปปี้ไฟล์
- ระบบปฏิบัติการ Windows 8 มีการปรับปรุงในส่วนของหน้าต่าง Copy ไฟล์แบบใหม่ทั้งหน้าตาและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยเมื่อพบไฟล์ที่มีชื่อซ้ำกัน จะแสดงหน้าต่างถามว่าต้องการทำอะไรกับไฟล์นี้หรือไม่ ทำให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการทำอย่างไรกับไฟล์
-ปรับความเร็วในการ Copy ได้อัตโนมัติ เช่น กำลัง Copy ไฟล์ผ่านระบบเครือข่ายไร้สายอยู่ แต่เมื่อมีการเสียบสายแลน ระบบปฏิบัติการWindows 8 จะปรับตัวเองให้ทำงานเร็วขึ้นโดยอัตโนมัติ
5.  ริบบอนเมนูของ Windows Explorer
ระบบปฏิบัติการ Windows 8 มีการปรับปรุงในส่วน Windows Explorer โดยปรับเมนูเป็นแบบ Ribbon ที่เหมือนกับ Microsoft Office 2012 ทำให้ใช้งานได้สะดวกและหลากหลายขึ้น โดยเมนู Ribbon สามารถแสดงผลได้ทั้งแบบเต็มและแบบย่อ ซึ่งลดความซับซ้อนในการทำงาน สามารถบันทึกไว้ในแอคเคาท์ได้ และสามารถนำไปซิงค์กับเครื่องอื่นได้โดยอัตโนมัติ

KEYBORD




คีย์บอร์ด
         คือ อุปกรณ์รับข้อมูลที่ใช้การเรียงตัวของปุ่ม ซึ่งแต่ละปุ่มทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิทช์อิเล็กทรอนิกส์โดยปกติ แล้วคีย์บอร์ดใช้สำหรับพิมพ์ตัวหนังสือ หรือตัวเลขเข้าไปยังโปรแกรมต่างๆ

เทคโนโลยี
-ปุ่มกด และหน่วยประมวลผลควบคุม
ปุ่มกดแบบสวิทช์รูปโดม เป็นรูปแบบที่ถูกใช้มากที่สุดตั้งแต่ปีค.ศ.2000 เป็นต้นมา
เมื่อปุ่มถูกกด มันจะไปผลักยางรูปโดมที่อยู่ด้านล่างปุ่ม ตัวเหนี่ยวนำที่อยู่ด้านล่างของโดมจะไปแตะคู่ของสายเหนี่ยวนำที่อยู่ ในวงจรด้านล่างอีกที
จะทำให้เกิดการเชื่อมระหว่างสายเหนี่ยวนำสองเส้น ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ ในสายเหนี่ยวนำแต่ละคู่จะมีสัญญาณแสกนที่ถูกส่งออกมาจากชิพ
เมื่อสัญญาณจากสายแต่ละคู่เปลี่ยนไป ชิพจะสร้าง “รหัสสร้าง” ขึ้นมาตอบสนองต่อปุ่มที่เป็นตัวเชื่อมสายคู่นั้นๆ เมื่อคอมพิวเตอร์ได้รับสัญญาณบิทจากคีย์บอร์ด
และถอดรหัสมันออกมาเป็นปุ่มที่ถูกกดอย่างถูกต้องแล้ว คอมพิวเตอร์จะตัดสินใจว่าจะทำอะไรจากปุ่มที่ถูกกดนั้น (เช่น แสดงอักษรขึ้นบนจอภาพ)
เมื่อปุ่มถูกปล่อย “รหัสหยุด” จะถูกส่งไปเพื่อบอกว่า ปุ่มไม่ได้ถูกกดแล้ว


-รูปแบบการเชื่อมต่อ
การเชื่อมต่อของคีย์บอร์ดผ่านสายเคเบิ้ลมีหลายรูปแบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อแบบมาตรฐาน AT ซึ่งต่อมาถูกแทนที่ด้วย PS/2 และ USB ในปัจจุบัน

รูปแบบของคีย์บอร์ด
-คีย์บอร์ดมาตรฐาน ประกอบไปด้วย ปุ่มตัวหนังสือ ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด 104 ปุ่ม
สำหรับคีย์บอร์ด 102/105 ปุ่มโดยทั่วไปของสากลจะมีปุ่ม “ชิฟท์ซ้าย (Left Shift)” ขนาดเล็กกว่า และเพิ่มปุ่มสำหรับสัญลักษณ์บางตัวเข้าไปบริเวณนั้น

-คีย์บอร์ดที่มีปุ่มพิเศษ เช่น มัลติมีเดียคีย์บอร์ด (Multimedia Keyboard) จะมีปุ่มพิเศษสำหรับเล่นเพลง เปิดเว็บไซต์และโปรแกรมที่ใช้งานบ่อยอื่นๆ
นอกจากนั้นส่วนใหญ่ยังมีปุ่มสำหรับควบคุมความดังของเสียง ปุ่มปิด/เปิดเสียง

-คีย์บอร์ดขนาดเล็ก ถูกผลิตขึ้นมาสำหรับแล็บท็อป (Laptop) พีดีเอ (PDA) โทรศัพท์มือถือ หรือผู้ใช้ที่มีเนื้อที่ทำงานจำกัด
การจะลดขนาดของคีย์บอร์ดอาจจะทำ โดยการตัดส่วนของแผงตัวเลขออก หรืออาจจะลดขนาดของปุ่ม ซึ่งจะทำให้การพิมพ์ข้อความทำได้ยากขึ้น
อีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถลดขนาดของคีย์บอร์ดคือการลดจำนวนปุ่มโดยใช้การผสมปุ่ม (เช่นการกดหลายปุ่มพร้อมกัน)
นอกจากนี้ยังสามารถลดขนาดได้โดยใช้ปุ่มขนาดเล็ก และวางเรียงชิดกัน เช่น Thumbboard ซึ่งมักถูกใช้ในพีดีเอ (PDA) และ อัลตร้าโมบายพีซ ี(UMPC)

-คีย์บอร์ดตัวเลข จะมีเฉพาะตัวเลข เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร จุดทศนิยม และปุ่มฟังก์ชั่นบางปุ่ม เช่น End, Delete โดยมาก
คีย์บอร์ดชนิดนี้จะถูกใช้ร่วมกับคีย์บอร์ดของแล็บท็อปหรือคีย์บอร์ดขนาด เล็กที่ไม่มีแผงปุ่มตัวเลข

รูปแบบการเรียงตัวของปุ่ม
สำหรับภาษาอังกฤษ รูปแบบ QWERTY เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากที่สุด
QWERTY (ออกเสียงว่า คิว-เวอ-ทิ) ได้ชื่อมาจากการเรียงตัวของแป้นอักษรแถวบนซ้ายสุด ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นในยุคของเครื่องพิมพ์ดีดเพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดการติดขัดของก้านกระแทก
ต่อมา QWERTY ได้ถูกนำมาใช้กับคีย์บอร์ดแบบอิเล็กทรอนิคส์เนื่องจากความนิยม

สำหรับภาษาไทย รูปแบบ เกษมณี คือรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีดเช่นกัน ต่อมา
สฤษดิ์ ปัตตะโชติ ได้วิจัยให้เห็นว่าแป้นพิมพ์แบบเกษมณีมีการใช้งานมือขวามากกว่ามือซ้ายมาก และนิ้วก้อยขวาจะถูกใช้งานหนัก
จึงได้คิดค้นแป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติขึ้นมา โดยเฉลี่ยให้สองมือใช้งานเท่าๆกัน โดยไล่จากนิ้วชี้ไปหานิ้วก้อย สภาวิจัยแห่งชาติพบว่า
แป้นปัตตะโชติพิมพ์ได้เร็วกว่าเกษมณี25.8% และลดอาการปวดนิ้วได้

5 สิ่งของสะท้อนตัวตนของ "FORREST GUMP"